ระบบควบคุมสภาวะอากาศ : คอมเพรสเซอร์ VS. เทอร์โมอิเลคทริค

เป็นคำถามที่เราได้รับอยู่บ่อยๆ ว่าระบบการทำความเย็นแบบไหน ที่ควรเลือกเมื่อต้องการซื้อตู้แช่ไวน์ ระหว่างเทคโนโลยีคอมเพรสเซอร์ หรือ ระบบทำความเย็นเทอร์โมอิเลคทริค
Wine climate control systems: compressors vs. thermoelectric

ในฐานะผู้ผลิตตู้แช่ไวน์ควบคุมสภาวะอากาศระดับโลกมากว่า 30 ปี เราขอแนะนำให้พิจารณาตู้แช่ไวน์ที่มีระบบคอมเพรสเซอร์ โดยเฉพาะในออสเตรเลียที่มีสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย ตู้แช่ไวน์ระบบนี้เหมาะสำหรับทั้งการเก็บและเสิร์ฟไวน์

ตู้แช่ไวน์ทั้งสองระบบมีจำหน่ายในท้องตลาด โดยเราจะเปรียบเทียบข้อดีและข้อด้อยของทั้งสองระบบให้ทราบตามข้อมูลด้านล่าง

หมายเหตุ : การทดสอบนี้ได้รับการรับรองจากสถาบันภายนอก ซึ่งมีวิศวกรระบบทำความเย็นยืนยันข้อมูล

เทคโนโลยีคอมเพรสเซอร์

ตู้แช่ไวน์โดยทั่วไปจะใช้คอมเพรสเซอร์ (ที่ใช้การควบแน่นไอน้ำเพื่อปรับให้ได้อุณหภูมิที่ต้องการ) มากกว่าระบบเทอร์โมอิเลคทริคที่มักติดตั้งใน “ตู้แช่เย็นไวน์” หรือ “ตู้ทำความเย็น”

เพื่อให้ได้ความเย็น คอมเพรสเซอร์จะปั๊มก๊าซทำความเย็นผ่านระบบทำความเย็น ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบหลายอย่างรวมถึงระบบทำการระเหยและตัวควบแน่น ในการติดตั้งที่ดีควรติดตั้งคอมเพรสเซอร์บนตัวตู้ไวน์และยึดด้วยแผ่นยางกันกระแทกที่ดูดซับแรงสั่นสะเทือน เพื่อป้องกันแรงสั่นสะเทือนส่งไปยังไวน์ พัดลมภายในถูกใช้ในตู้แช่บางรุ่นเพื่อรักษาอุณหภูมิภายในให้สม่ำเสมอ ในขณะที่บางตู้ใช้พัดลมภายนอกเพื่อระบายความร้อนออกจากคอมเพรสเซอร์

คอมเพรสเซอร์สามารถใช้ก๊าซทำความเย็นได้หลายประเภท ซึ่งบางชนิดก็ประหยัดพลังงานมากกว่าชนิดอื่นๆ เช่น R600a ซึ่งไม่มีคุณสมบัติในการทำลายชั้นโอโซน

ข้อดี :
  • อุณหภูมิสม่ำเสมอ และควบคุมอุณหภูมิได้แม่นยำมากกว่า
  • บำรุงรักษาง่าย ซ่อมแซมได้โดยวิศวกร หรือผู้เชี่ยวชาญระบบทำความเย็นทั่วไป
  • ระบบและอะไหล่สามารถเปลี่ยนได้ หากมีความจำเป็น

ข้อด้อย :

  • มักจะมีราคาสูงกว่าระบบเทอร์โมอิเลคทริค ต้องใช้แรงงานในการผลิตและติดตั้งมากกว่า

ในด้านประสิทธิภาพการใช้งาน ระบบคอมเพรสเซอร์ไม่มีข้อด้อยอื่นใด และได้รับการพิสูจน์จากการเป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้งานร่วมศตวรรษ ซึ่งในระหว่างนั้นระบบคอมเพรสเซอร์ก็ได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งด้านประสิทธิภาพ ความเงียบ และประหยัดพลังงา

ระบบทำความเย็นเทอร์โมอิเลคทริค (เพลเทียร์)

ระบบทำความเย็นเทอร์โมอิเลคทริคใช้เพลเทียร์ เพื่อสร้างกระแสความร้อนระหว่างวัสดุสองประเภทที่แตกต่างกัน อุปกรณ์มีสองด้าน และเมื่อ DC (กระแสตรง) ไหลผ่านอุปกรณ์ จะนำความร้อนจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง เพื่อให้ด้านหนึ่งเย็นลงในขณะที่อีกด้านหนึ่งร้อนขึ้น ซึ่งด้านที่ทำความเย็นจะมีความสำคัญต่อระบบทำความเย็น และจะใช้พัดลมเพื่อกระจายลมเย็นให้ทั่วทั้งตู้

ข้อดี :
  • เพลเทียร์ - ไม่มีชิ้นส่วนที่ต้องหมุนหรือขยับ ไม่มีของเหลว หรือสารทำความเย็น
  • ค่าใช้จ่ายในการผลิตต่ำกว่า และใช้แรงงานในการผลิตน้อยกว่า


ข้อด้อย
:

  • ทำอุณหภูมิความเย็นได้จำกัด
  • ไม่เหมาะกับการใช้งานนอกอาคาร ต้องอยู่ในสภาวะอุณหภูมิที่จำกัด
  • ประหยัดพลังงานได้ประมาณ 10-15% เมื่อเทียบกับตู้เย็นทั่วไป (แบบวงจรการ์โนต์) เมื่อเทียบกับระบบควบแน่นไอน้ำที่ประหยัดพลังงานได้ 40-60%
  • สิ้นเปลืองพลังงานกว่าในระยะยาว ต่างจากระบบควบแน่นไอน้ำ (เมื่อเปรียบเทียบด้านประสิทธิภาพและการประหยัดพลังงาน)

โดยสรุป

สิ่งสำคัญในการเก็บรักษาไวน์คือความเสถียรของอุณหภูมิ และได้สามารถควบคุมได้ตลอดระยะเวลา ซึ่งระบบเพลเทียร์ เทอร์โมอิเลคทริค ไม่สามารถทำความเย็นให้ลงต่ำได้ ต่างจากระบบคอมเพรสเซอร์ ซึ่งจุดนี้เป็นสิ่งสำคัญเมื่อคุณเปิดประตูตู้แช่ไวน์เพื่อ:
  • บรรจุขวดไวน์เข้าในตู้แช่ไวน์
  • ดูและจัดขวดไวน์ในคอลเลคชั่น หรือ
  • หยิบขวดไวน์เพื่อเปิดและดื่ม

เนื่องจากระบบเทอร์โมอิเลคทริคจะเป็นการคงอุณหภูมิให้กับตู้แช่ไวน์เท่านั้น ซึ่งอุณหภูมิที่ผันผวนบ่อยครั้งจะส่งผลต่อคุณภาพในการบ่มไวน์

ตู้แช่ไวน์ Vintec และ Transtherm ใช้ระบบคอมเพรสเซอร์คุณภาพสูง ทำความเงียบ และได้รับการทดสอบจากการใช้งานกับสภาวะอากาศในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์


อ่านบทความเหล่านี้ต่อไป
compare channel adviser image